ฝ่ายบุคคลและผู้ประกอบการ | 12 July 2023

5 บริษัท ที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Employer Branding

รู้จักกับ Employer Branding หรือการสร้างแบรนด์นายจ้างกันหรือยัง? เพราะทุกวันนี้หลายบริษัทมีการสร้างแบรนด์นายจ้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์และส่งมอบคุณค่าขององค์กรให้กับพนักงานและคนภายนอกได้รับรู้ รวมถึงดึงดูดผู้สมัครที่มีความสามารถมาเข้าร่วมกับองค์กร ดังนั้นการสร้าง Employer Branding หรือแบรนด์นายจ้าง จึงเป็นสิ่งที่หลายบริษัทให้ความสำคัญมากขึ้น วันนี้ WorkVenture ได้นำ 5 บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Employer Branding เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษาว่าบริษัทเหล่านี้ทำอย่างไร จึงติดอันดับ บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์นายจ้าง
 

1. Google

 


 

กูเกิล เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก รวมถึงยังเป็นหนึ่งใน 50 บริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดอีกด้วย แม้ว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทจะสูญเสียสถานะการเป็นนายจ้างที่น่าดึงดูดใจที่สุดในโลกไป แต่กูเกิลก็ยังคงเป็นบริษัทที่ให้สวัสดิการและผลประโยชน์กับพนักงานจนได้กลายเป็นตำนาน ซึ่งการสร้างแบรนด์นายจ้างของ Google เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นมาตรฐานที่สูงสำหรับหลาย ๆ บริษัท 

สวัสดิการและผลประโยชน์ที่ Google มอบให้พนักงาน:

  • โรงอาหารของบริษัทที่จัดไว้สำหรับพนักงานโดยเฉพาะ มีอาหารฟรี และอาหารหลากหลายรสชาติ

  • บริการทางการแพทย์สำหรับพนักงาน หลายๆที่ในบริษัท

  • สมาชิกโรงยิมฟรี

  • สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล

  • สิทธิประโยชน์ของการลา เพื่อเลี้ยงดูบุตร มารดาและบิดา

  • ความช่วยเหลือด้านค่าเล่าเรียน และโปรแกรม Global Education Leave ที่อนุญาตให้พนักงานลางาน เพื่อศึกษาต่อได้

สิทธิพิเศษเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้หางานมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ Google ซึ่งบริษัทมี EVP (Employer Value Proposition) สำหรับพนักงาน คือ "do cool things that matter" จากข้อมูล Google ติดท๊อป 5% สำหรับบริษัทที่สามารถสร้างความสุขในการทำงานให้กับพนักงาน และติดท๊อป 10% สำหรับบริษัทที่พนักงานให้ความสนใจในการร่วมงานกับบริษัทต่อ หากสนใจสมัครงานกับกูเกิล คลิก
 

2. Canva

 


 

แคนวา เป็นแพลตฟอร์มการออกแบบและเผยแพร่ออนไลน์ ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในปัจจุบัน ได้พัฒนาเว็บไซต์ขึ้นไปอีกขั้นเพื่อสื่อสารกับผู้หางาน โดยแคนวามีการนำเสนอหน้าเพจสำหรับผู้หางานในหลาย ๆ ประเทศ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากขึ้น

  • รายละเอียดเกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์กรและผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่บริษัทจะมอบให้กับพนักงาน

  • การให้ความสำคัญกับพนักงาน โดยแสดงออกถึงการรับรู้และชื่นชมในความสำเร็จของพนักงาน

  • สนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ การงาน

ซึ่งการให้ข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้กับผู้หางาน แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีความโปร่งใส สามารถเข้าถึงได้ และคุ้มค่าที่จะสมัครงานไปเป็นพนักงาน นี่คือเหตุผลที่ Canva ทุ่มเทเวลาและให้ความสำคัญการจัดหน้าเว็บไซต์ ซึ่งความพยายามและความทุ่มเทของบริษัทแคนวา ได้รับผลตอนแทนคือ บริษัทได้ติดโพล Best Workplaces lists และมีอัตราผู้สมัครงานเพิ่มมากขึ้น ถึง 370% เลยทีเดียว 
 

3. Starbucks

 


 

เวลาไปห้างหรือสถานที่ต่าง ๆ คุณต้องเคยเห็นร้านกาแฟชื่อดังอย่าง สตาร์บัคส์ ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะแบรนด์นายจ้างที่โดดเด่น ในเรื่องของการสนับสนุนพนักงาน แทนที่จะมุ่งเน้นความพยายามในการสร้างแบรนด์นายจ้างให้กับพนักงานในองค์กรเพียงอย่างเดียว Starbucks ได้มี EVP และวัฒนธรรมองค์กรที่สะท้อนให้พนักงานทุกคน รู้สึกเหมือนเป็นมากกว่าแค่พนักงานโดยเปรียบเป็น 

"พาทเนอร์" สิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับบริษัท และสตาร์บัคส์ก็มีช่องทางสำหรับพนักงานเพื่อแสดงความภาคภูมิใจบนโซเชียลมีเดีย 

  • เพื่อแสดงออกถึงการรับรู้และชื่นชมในความสำเร็จของพนักงาน

  • แบ่งปันเรื่องราวต่าง ๆ ของพนักงานที่สร้างแรงบันดาลใจ

  • บอกและเน้นถึงข้อดีของการทำงานกับบริษัท

  • กำหนดค่านิยมและเป้าหมายของบริษัทอย่างชัดเจน

  • โปรโมทและเชิญชวนผู้หางานมาร่วมงานกับบริษัท

บริษัทมีการสร้างแบรนด์ของนายจ้างโดยการพิสูจน์ว่าพนักงานได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นพาทเนอร์จริง ๆ หากสนใจสมัครงานกับสตาร์บัคส์ คลิก
 

4. Netflix

 


 

Netflix เป็นหนึ่งในแบรนด์นายจ้างที่ได้รับคะแนนสูงสุดใน Glassdoor ซึ่งบริษัทเป็นที่รู้จักในเรื่องของการสนับสนุนพนักงาน อย่างแรกพนักงานในบริษัท ไม่ได้ถูกจัดตารางการทำงานหรือแม้แต่กำหนดชั่วโมงขั้นต่ำในการทำงานต่อสัปดาห์ ซึ่ง Netflix ขอเพียงให้พนักงานสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นได้ก็พอ บริษัทยังเสนอเวลาพักผ่อนแบบไม่จำกัดให้กับพนักงาน โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลในการลาพักร้อน นอกจากนี้บริษัทยังมีการสนับสนุนให้พ่อแม่มือใหม่สามารถลางานได 1 ปีเต็มเพื่อเลี้ยงดูบุตร

โดย Netflix กล่าวว่า "hire, reward and tolerate only fully-formed adults." ซึ่งหมายความว่า Netflix ต้องการดึงดูดพนักงานที่มีความซื่อสัตย์ โดยที่ไม่ต้องการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดในการทำงาน ซึ่งบริษัทได้แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับพนักงาน เป็นอีกวิธีหนึ่งในการปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเคารพและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ Netflix เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีในการสร้างแบรนด์นายจ้าง หากสนใจสมัครงานกับ Netflix คลิก
 

5. Marriott International

 


 

แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล ได้สร้างแบรนด์นายจ้างตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพนักงาน ในการสร้างความพัฒนาและการเติบโตให้กับพนักงาน โดยให้ความสำคัญกับการศึกษาต่อ และสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพภายในบริษัท โดย Marriott ได้มีโปรแกรมสำหรับการฝึกอบรมแบบตัวต่อตัวให้กับพนักงานเพื่อสนับสนุนพนักงาน ซึ่งโปรแกรมเพื่อพัฒนาพนักงานเหล่านี้ เป็นการช่วยให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะด้านอารมณ์ เทคนิคการเป็นผู้นำ และจัดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

  • โปรแกรมที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ Voyage Global Leadership Development Program ซึ่งได้รับการออกแบบมา เพื่อช่วยให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สามารถเริ่มต้นการทำงานในเครือ Marriott และเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่สดใสในอุตสาหกรรมการบริการ

เนื่องจากการมอบโอกาสมากมายและศักยภาพในการเติบโตให้กับพนักงาน บริษัทจึงเป็นที่รู้จักในฐานะ สถานที่ที่ดีในการเริ่มต้นและพัฒนาอาชีพ จากข้อมูลระบุว่า 17% ของพนักงาน Mariott ทำงานที่บริษัทเป็นระยะเวลามากว่า 20 ปี

 


 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คุณคงรู้แล้วว่า องค์กรระดับโลกที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Employer Branding หรือแบรนด์นายจ้าง ส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมักให้ความสำคัญกับพนักงาน และสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งการที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์นายจ้างนั้น ต้องอาศัยเทคนิคในการดึงดูดความสนใจของผู้สมัครงาน ซึ่งการทำ Employer Branding ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงภาพลักษณ์ขององค์กรสู้สายตาคนภายนอก 

ถ้าคุณมีความสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม หรือต้องการสร้างแบรนด์นายจ้างให้กับองค์กรของคุณ วันนี้ WorkVenture สามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณได้ เพราะเรามีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำมากมาย คลิก

 

อ้างอิงจาก: https://theorg.com/iterate/employer-branding-inspiration-for-2023-and-beyond#10-delta-air-lines