ฝ่ายบุคคลและผู้ประกอบการ | 15 March 2022

4 ข้อที่ HR ต้องรู้! เกี่ยวกับ Employee Experience


ถ้าทำงานในวงการ HR คงต้องคุ้นหูกับคำว่า “Employee Engagement” หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานมาบ้างไม่มากก็น้อย ที่ผ่านมาหลายองค์กรต่างๆ ก็พยายามจะสร้างการมีส่วนร่วมให้กับพนักงาน โดยการงัดทั้งสวัสดิการใหม่ ๆ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แตกต่างมีเอกลักษณ์ และยังหากิจกรรมมากมายเพื่อจะดึงดูดคนเก่งให้เข้ามาร่วมงานด้วยและรักษาพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทได้นาน

แต่บางทีถึงจะทำอะไรมากมาย แต่ “คนเก่ง ๆ” ก็ยังเลือก หางานใหม่อยู่ดี จึงได้เกิดเทรนด์ใหม่ นั่นคือ “Employee Experience” หรือประสบการณ์ของพนักงาน ซึ่งเป็นระบบ Ecosystem ของการบริหารคน ซึ่งรวมเอาทั้งการมีส่วนร่วม (Engagement) วัฒนธรรม (Culture) และการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Management) มาไว้ด้วยกัน ดังนั้นวันนี้ WorkVenture จะมาแอบบอก 4 เหตุผลว่าทำไมจึงต้องทราบ Employee Experience

 

4 ข้อที่ HR ต้องรู้! ถ้าอยากให้พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กร

 

1. คนรุ่นใหม่ไม่ชอบอะไรช้า

ถึงแม้ “Employee Engagement” จะทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และสร้างความรู้สึกให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนั้นนาน ๆ แล้ว แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อองค์กร มีผลให้บางองค์กรปรับตัวไม่ทันและไม่สามารถพาคนในองค์กรทั้งหมดปรับตัวตามไปด้วยได้ ทำให้องค์กรนั้น ๆ ต้องเสียคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถไป เพราะสำหรับคนยุค Gen Z และคน Gen Y ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ความทันสมัย ก็คงไม่ทนกับความไม่ทันสมัยขององค์กร ดังนั้นถ้าอยากดึงดูดคนรุ่นใหม่ไฟแรง แทนที่จะเรียกร้องให้พวกเขาหันมามี Engagement หันมาสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พวกเขารู้สึกได้จริงแทนจะดีกว่า

 

2. พนักงานมองตัวเองเป็นลูกค้า

“ไม่ใช่ก็ไป”  “จะทนทำไม”  “ไม่ง้อบริษัทหรอก” เป็นประโยคยอดฮิตสำหรับสังคมสมัยใหม่ เมื่อการลาออกก็กลายเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น HR เลยต้องปรับตัว ทำความเข้าใจพนักงานด้วยเช่นกัน เมื่อก่อน HR อาจจะคิดแต่ว่าทำยังไงจะให้พนักงานของเราเก่งขึ้น จึงให้ทั้งคอร์สเรียนเสริม สร้างทักษะต่างๆมากมาย แต่เคยถามพนักงานมั้ยว่า “พวกเขาพร้อมเรียนหรือเปล่า ?” นี่ก็เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้ Employee Experience สำคัญคือก่อนจะทำอะไรให้ดูด้วยว่าสิ่งที่จะส่งมอบนั้น มันสร้าง “ความประทับใจ” ให้พนักงานอย่างไร และพวกเขาต้องการหรือไม่

ถ้า HR พอจะคุ้นเคยกับ Customer Journey ของการตลาด Employee Journey ก็เหมือนกันเลย คือเราต้องทำให้พนักงานรู้สึกราวกับเป็นลูกค้า โดย HR อาจจะมีช่องทางสำหรับให้พนักงานได้พูดคุย รับฟัง และเสนอความเห็นได้เหมือนสินค้า เพื่อที่เราจะได้เข้าใจและแก้ไขได้ตรงจุด เหมือนสินค้าที่เราพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบให้ลูกค้า

 

3. วัฒนธรรมองค์กรไม่เหมือนกับที่บอกไว้

ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร อย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกคนในองค์กรจะทำได้อย่างที่ต้องการทั้งหมด ทุกคนมาจากหลายที่ พอมาอยู่ร่วมกันก็ต้องมีบางส่วนที่ปรับตัวได้และปรับตัวไม่ได้ ดังนั้นแม้ว่าองค์กรจะประกาศว่าเรามีวัฒนธรรมองค์กรอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ถ้าพนักงานไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ หรือคนส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่องค์กรอยากจะให้เป็น ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร ดังนั้นก่อนที่จะบอกออกไปว่าวัฒนธรรมองค์กรของเราเป็นอย่างไร จึงควรสังเกตและวิเคราะห์อย่างละเอียดโดยยึดหลักตามความเป็นจริงที่คนส่วนใหญ่เป็น เชื่อว่าในทุกองค์กรมักจะมีวัฒนธรรมองค์ดีๆซ่อนอยู่อย่างแน่นอน

 

 

4. มีส่วนร่วมแล้ว แต่ได้รับประสบการณ์แย่ ก็ Say Goodbye

เคยไหม ตั้งใจทำงาน แต่ไม่มีใครสนใจ ? พนักงานมีส่วนร่วมได้จากการทำงาน การที่เขาคอยช่วยเหลือคนในทีม หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้นมา แต่สุดท้ายพนักงานเก่งๆก็ลาออกจากงาน ซึ่งอาจจะเพราะพนักงานบางคนอาจจะมีส่วนร่วมมากเกินไป แต่ไม่ได้รับการสนองจากองค์กรก็อาจจะทำให้พวกเขาตัดสินลาออกไปหาที่ทำงานใหม่อยู่ดี

 

การทำให้พนักงานมีประสบการณ์ที่ดีไม่ได้มากจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมเพียงอย่างเดียว หาก HR สามารถสร้างประสบการณ์ดีให้พนักงานประทับใจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวชมเป็นประจำ เอาใจใส่ทั้งเรื่องงาน และเรื่องที่พนักงานไม่สบายใจ การแนะนำถึงโอกาสในการทำงาน และคอยเป็นเพื่อนในที่ทำงานให้พนักงานก็เป็นการสร้างประสบการณ์ดี ๆได้ รวมถึงการทำ Employer Branding จะช่วยทำให้รักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้เช่นกัน

หากสนใจลงประกาศงานเพื่อหาคนที่ใช่สำหรับองค์กรของคุณ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง Employer Branding เราสามารถให้คำปรึษาคุณได้  WorkVenture เป็นผู้นำด้านการสร้างแบรนด์นายจ้างที่ทำงานอย่างมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์ทำงานร่วมกับบริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศ คลิก