“วัฒนธรรมองค์กร” ปรับเปลี่ยนอย่างไร ให้โดนใจคนรุ่นใหม่?
ทุกวันนี้ มีหลากหลายองค์กรที่ต้องการปรับตัวเองให้เข้ากับยุคปัจจุบัน ทั้งเพื่อดึงดูดคนทำงานรุ่นใหม่ หรือเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้เท่าเทียมกับบริษัทอื่น หนึ่งในการปรับเปลี่ยนที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลง “วัฒนธรรมองค์กร” ที่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ หรือเกิดขึ้นได้แบบชั่วข้ามคืน
เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กร ต้องใช้การเคลื่อนไหว ไม่ใช่กฎบังคับ เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้มีจุดเริ่มต้นที่การกระทำ แต่เริ่มต้นจากอารมณ์...อารมณ์ที่ไม่พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่และอยากเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น เมื่อผู้บริหารบริษัทมีวิสัยทัศน์ที่ดีและเห็นภาพที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่ตนต้องการ ลองสำรวจคำแนะนำด้านล่างนี้เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรของคุณ
1. รู้ปัญหา
วางกรอบสถานการณ์เพื่อสร้างอารมณ์และกระตุ้นให้เกินการเคลื่อนไหว ผู้บริหารไม่จำเป็นจำเป็นต้องมานั่งอธิบายว่าทำไมถึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ควรค่อยๆ ปลูกฝังค่านิยมที่ตนต้องการ กระตุ้นให้พนักงานเห็นค่าของสิ่งที่ตนทำมากกว่าทำเพื่อตัวเองเท่านั้น (เช่น อยากให้บริการที่ดีกับลูกค้า แทนที่จะมองแค่ว่าทำแล้วได้เงินเดือน) เพื่อสร้างคุณค่าให้กับหน้าที่ สร้างความรู้สึกร่วม และมีผลไปถึงผลงานที่ดีในวงกว้าง หรือการใช้สวัสดิการเพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมสำหรับองค์กร ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง
2. ผลลัพธ์จับต้องได้
แสดงผลลัพธ์ในแง่บวกเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนที่สนใจแต่ยังไม่เข้ามามีส่วนร่วม และไม่เพียงแต่ประกาศความเปลี่ยนแปลงที่ผู้บริหารอยากเห็น แต่พยายามทำให้พนักงานคนอื่นๆ เห็นถึงตัวอย่างของการกระทำที่บริษัทต้องการจะเห็น เช่น ชื่นชมหรือสร้างผลงานที่ดี
3. สร้างเน็ตเวิร์ก
เชื่อมต่อคนหลายกลุ่มจากหลากลักษณะงานเพื่อแบ่งปันจุดมุ่งหมายร่วมกัน รวมไปถึงการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อกระจายไอเดียและเผยแพร่ผลลัพธ์ของไอเดียนั้น ผู้บริหารไม่ควรซ่อนตัวอยู่ในมุมมืดแล้วค่อยออกมาประกาศสโลแกน แต่ควรเข้ามามีส่วนร่วมและกระตุ้นให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างความรู้สึกอยากเห็นผลลัพธ์ที่ดีร่วมกัน
4. สร้างสภาพแวดล้อม
การสร้างสภาพแวดล้อมก็เหมือนกับการเคลื่อนไหวทางสังคมที่แต่ละกลุ่มจะต้องมี “พื้นที่ปลอดภัย” ไว้ให้สมาชิกสร้างกลยุทธ์และถกเรื่องเทคนิค ผู้บริหารควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เช่น สนับสนุนไอเดียที่แตกต่าง หรือชื่นชมการปฏิบัติงานที่รวดเร็ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่พนักงานใช้ตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อหรือลาออก
5. สร้างสัญลักษณ์
สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวและเพิ่มความเข้าใจในจุดมุ่งหมาย ทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็น “พวกเรา” ในรูปของอัตลักษณ์ของบริษัท สโลแกน คำสัญญา ฯลฯ เพื่อผลักดันให้พนักงานในบริษัทช่วยกันให้ไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ และทำให้โลกภายนอกเห็นถึงอัตลักษณ์นั้น
สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอในการสร้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรที่ราบลื่นและไร้ความขัดแย้ง คือผู้นำองค์กรหรือผู้บริหารควรลดการใช้อำนาจให้น้อยที่สุด แม้การอธิบายภารกิจของบริษัทและความชัดเจนในโครงสร้างจะมีความสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือผลของการ “ทำให้เห็น” เพื่อเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่ผู้นำอยากให้พนักงานทำตาม
ทั้งหมดทั้งมวลที่ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบกับพนักงานขนาดนี้ก็เพราะ พนักงาน” ถือเป็นทรัพยากรอันมีค่าของบริษัท หากคุณเป็น 1 ใน 7 บริษัทที่ไม่ควรทำงานด้วย เตรียมตัวได้เลย เพราะพนักงานบริษัทคุณมีแนวโน้มที่พร้อมจะ “ลาออกจากองค์กร” ได้เสมอเมื่อพวกเค้ารู้สึกว่าเงื่อนไขต่างๆไม่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์หรือความต้องการ
คำถามก็คือ องค์กรควรรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ที่งานนี้มีคำตอบ “Big17: Employee Retention Best Practices” กิจกรรมล่าสุดจาก AIP Global ที่ได้รวบรวม Guest speaker ระดับท็อปจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทย ( แน่นอนว่าคือผู้ที่อยู่ในลิสท์และติดโผ 50 บริษัทที่กลุ่มคนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุดในปีนี้ ) ซึ่งผู้ที่จะมาร่วมพูดคุยและให้คำแนะนำกับเราในหัวข้อ “The GOOD the BAD and the UGLY of H.R.” ได้แก่
-
Mr. Pakapak Sangkhasuntorn HR Mgr. Workforce Readiness จาก SCG
-
Mr. Viranon Futrakul AVP จาก Charoen Pokphand Group
-
Khun Renee Visca HR Development Specialist จาก Mitr Pool Group
-
Khun Kanyarat Watanapongvanich AVP Organization Development จาก DTAC
https://ticketbox.co.th/event/big17-employee-retention-best-practices-65864/41851
บัตรแบบ Single Ticket ราคา 500 บาท
บัตรแบบ Couple Ticket ราคา 350 บาท
Walk in หน้างาน 700 บาท
***ราคาตั๋วรวมค่าอาหารและเครื่องดื่ม***
งานจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 26 กรกฏาคมนี้ ที่โรงแรม Rembrandt ห้องบอลรูมชั้น 3 เวลา 18.00 - 21.30 น.